เมนู

อรรถกถาเสลสูตรที่ 7


เสลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ? ท่านกล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นไว้ใน
นิทานแห่งเสลสูตรนั้นแล้ว. แม้ในลำดับการพรรณนาความแห่งสูตรนี้ ก็เช่น
เดียวกันกับสูตรก่อน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรก่อนนั่นแล. ก็บทใด
ยังไม่ได้กล่าวไว้ เราจักเรียบเรียงบททั้งหลายที่มีความง่าย พรรณนาบทนั้น.
บทว่า องฺคุตฺตราเปสุ ได้แก่ ชนบทนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าอังคา,
อังคาใดชื่อว่า อาปะ ที่ซับน้ำมีอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคา, ท่านเรียกว่า
อุตตราปะ ก็มี เพราะอยู่ไม่ไกลแม่น้ำเหล่านั้น ถามว่า อังคาใดที่ชื่อว่า
อาปะอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำคงคาตอนไหน ? ตอบว่า แม่น้ำคงคาที่ชื่อว่า
มหามหี. เพื่อความแจ่มแจ้งของแม่น้ำนั้นในสูตรนี้จะพรรณนาตั้งแต่ต้น.
มีเรื่องเล่ามาว่า ชมพูทวีปนี้มีประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์. ในชมพูทวีป
นั้นพื้นที่ประมาณ 4 พันโยชน์ถูกน้ำท่วม จึงเรียกว่า สมุทร. พวกมนุษย์
อาศัยอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 3 พันโยชน์ มีเขาหิมพานต์ตั้งอยู่ในเนื้อที่ 3 พัน
โยชน์โดยส่วนสูงประมาณ 500 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด โดย
รอบวิจิตรตระการไปด้วยมหานทีทั้งห้าไหลบ่าสงโดยยาวและกว้างประมาณ 100
โยชน์ เพราะลึกมาก มีบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 โยชน์ มีสระใหญ่ 7
สระ มีสระอโนดาตเป็นต้นตั้งอยู่ ดังได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาปูรฬาสสูตร.
ใน 7 สระนั้น สระอโนดาตล้อมไปด้วยภูขา 5 ลูกเหล่านี้ คือ สุทัสสนกูฎ
จิตรกูฏ กาฬกฏ คันธมาทนกูฏ เกลาสกูฏ. ในภูเขา 5 ลูกนั้น สุทัสสนกูฏ